คำถามที่พบบ่อย (Q&A)
ค้นหาคำตอบสำหรับคำถามที่คุณอาจมี
คำถามยอดนิยม (TOP Q&A)
ระบบ i-Industry คืออะไร
ระบบ i-Industry หรือระบบทะเบียนลูกค้าอุตสาหกรรม คือระบบทะเบียนกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการให้บริการภาครัฐในด้านอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล โดยเชื่อมโยงชุดข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานภายนอก เช่น กรมการปกครอง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างโปรไฟล์ผู้ประกอบการ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบงานต่าง ๆ ภายในกระทรวง เช่น ระบบขออนุญาตต่าง ๆ รายงานข้อมูลกลาง การชำระค่าธรรมเนียม ด้านการบริการสำหรับผู้ประกอบการ SME และการติดตามกำกับดูแล นอกจากนี้ยังมีศูนย์บริการ API และฐานข้อมูลกลาง (Data Lake) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้วยข้อมูล (Data-Driven Governance) สำหรับยกระดับการให้บริการของหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม
บริษัท โรงงาน หรือกิจการหนึ่งแห่ง สามารถสมัครสมาชิกได้กี่คน
ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้สมัคร สมาชิกแต่ละรายควรเป็นพนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น ๆ และควรสมัครสมาชิกด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) ร่วมกัน หรือใช้แทนกันระหว่างบุคคล
กรณีลาออกจากกิจการ ต้องดำเนินการอย่างไรกับบัญชีผู้ใช้งาน
สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เก็บบัญชีผู้ใช้งานไว้
- ให้ลบกิจการออกจากโปรไฟล์เดิม
- เมื่อเข้าทำงานกับกิจการใหม่ สามารถใช้บัญชีเดิมเพิ่มกิจการใหม่เข้าในโปรไฟล์ได้ทันที โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่
2. ยกเลิกบัญชีผู้ใช้งาน ให้ส่งคำขอยกเลิกไปที่อีเมล service_ids@industry.go.th พร้อมข้อมูล ดังนี้
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อ–นามสกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และระบุข้อความ “สำหรับใช้ในการยกเลิกบัญชีผู้ใช้งานในระบบ i-Industry อย่างถาวร”
ข้อควรทราบ:
บัญชีผู้ใช้งานถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ควรให้บุคคลอื่นใช้งาน และไม่ถือเป็นทรัพย์สินของกิจการ เมื่อมีการลบกิจการออกจากโปรไฟล์แล้ว บัญชีผู้ใช้งานจะไม่มีความเชื่อมโยงกับกิจการหรือโรงงานอีกต่อไป
1. เก็บบัญชีผู้ใช้งานไว้
- ให้ลบกิจการออกจากโปรไฟล์เดิม
- เมื่อเข้าทำงานกับกิจการใหม่ สามารถใช้บัญชีเดิมเพิ่มกิจการใหม่เข้าในโปรไฟล์ได้ทันที โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่
2. ยกเลิกบัญชีผู้ใช้งาน ให้ส่งคำขอยกเลิกไปที่อีเมล service_ids@industry.go.th พร้อมข้อมูล ดังนี้
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อ–นามสกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และระบุข้อความ “สำหรับใช้ในการยกเลิกบัญชีผู้ใช้งานในระบบ i-Industry อย่างถาวร”
ข้อควรทราบ:
บัญชีผู้ใช้งานถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ควรให้บุคคลอื่นใช้งาน และไม่ถือเป็นทรัพย์สินของกิจการ เมื่อมีการลบกิจการออกจากโปรไฟล์แล้ว บัญชีผู้ใช้งานจะไม่มีความเชื่อมโยงกับกิจการหรือโรงงานอีกต่อไป
เมื่อทำการลบโรงงาน ลบกิจการออกจากโปรไฟล์ หรือปิดการใช้งานบัญชี ข้อมูลต่าง ๆ เช่น การรายงาน หรือการขออนุญาตในระบบอื่นที่ใช้ข้อมูลผู้ใช้งานของ i-Industry จะถูกลบหรือไม่
ข้อมูลที่ดำเนินการในนามของโรงงานหรือกิจการในระบบต่าง ๆ จะยังคงอยู่ในระบบและจะไม่ถูกลบหรือสูญหายแต่อย่างใด
iSingleForm คืออะไร
iSingleForm คือระบบรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรมในรูปแบบออนไลน์ ออกแบบ พัฒนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการรายงานข้อมูลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมข้อมูลหลัก 5 ด้าน ได้แก่:
1. ข้อมูลด้านการผลิต
2. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
3. ข้อมูลด้านความปลอดภัย
4. ข้อมูลผลประกอบการ
5. ข้อมูลความคิดเห็นต่อภาวะธุรกิจ
ระบบนี้ช่วยให้การรายงานข้อมูลของผู้ประกอบการมีความสะดวก โปร่งใส และปลอดภัย ผ่านช่องทางดิจิทัลแบบครบวงจร
1. ข้อมูลด้านการผลิต
2. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
3. ข้อมูลด้านความปลอดภัย
4. ข้อมูลผลประกอบการ
5. ข้อมูลความคิดเห็นต่อภาวะธุรกิจ
ระบบนี้ช่วยให้การรายงานข้อมูลของผู้ประกอบการมีความสะดวก โปร่งใส และปลอดภัย ผ่านช่องทางดิจิทัลแบบครบวงจร
สามารถรายงานข้อมูลในระบบ iSingleForm ได้อย่างไร
ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ iSingleForm มีดังนี้
1. ลงทะเบียนระบบ i-Industry: สมัครสมาชิกและเพิ่มข้อมูลกิจการ/โรงงาน ให้ครบถ้วน
2. เข้าสู่เมนูการรายงานข้อมูล: ไปที่เมนู “บริการ” → “Digital-Survey (แบบฟอร์มสำรวจข้อมูลดิจิทัล)” → “การรายงานข้อมูลกลางของ อก. (iSingleForm)”
3. เข้าสู่ระบบ iSingleForm: ระบบจะนำไปยังเว็บไซต์ iSingleForm โดยอัตโนมัติ จากนั้นเลือกเมนู “รายงานข้อมูล” รายชื่อกิจการและโรงงานที่ผูกไว้ในระบบ i-Industry จะปรากฏโดยอัตโนมัติ
1. ลงทะเบียนระบบ i-Industry: สมัครสมาชิกและเพิ่มข้อมูลกิจการ/โรงงาน ให้ครบถ้วน
2. เข้าสู่เมนูการรายงานข้อมูล: ไปที่เมนู “บริการ” → “Digital-Survey (แบบฟอร์มสำรวจข้อมูลดิจิทัล)” → “การรายงานข้อมูลกลางของ อก. (iSingleForm)”
3. เข้าสู่ระบบ iSingleForm: ระบบจะนำไปยังเว็บไซต์ iSingleForm โดยอัตโนมัติ จากนั้นเลือกเมนู “รายงานข้อมูล” รายชื่อกิจการและโรงงานที่ผูกไว้ในระบบ i-Industry จะปรากฏโดยอัตโนมัติ
หมวดหมู่คำถาม
บัญชีผู้ใช้งาน
กรรมการ ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ จำเป็นต้องดำเนินการสมัครสมาชิกด้วยตนเองหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสมัครด้วยตนเอง พนักงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสามารถดำเนินการสมัครแทนได้
ผู้ที่มิใช่บุคคลสัญชาติไทยสามารถสมัครเข้าใช้ระบบได้หรือไม่
ไม่สามารถสมัครสมาชิกได้ การสมัครสมาชิกจำกัดเฉพาะบุคคลสัญชาติไทยที่มีบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น เนื่องจากระบบมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้งานโดยบุคคลไทยหรือองค์กรที่มีบุคลากรคนไทยเป็นผู้ดำเนินการ
บริษัท โรงงาน หรือกิจการหนึ่งแห่ง สามารถสมัครสมาชิกได้กี่คน
ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้สมัคร สมาชิกแต่ละรายควรเป็นพนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น ๆ และควรสมัครสมาชิกด้วยตนเอง ไม่ควรใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) ร่วมกัน หรือใช้แทนกันระหว่างบุคคล
ในกรณีที่พนักงานเป็นผู้ดำเนินการสมัครสมาชิกแทนบริษัท จำเป็นต้องมีหนังสือมอบอำนาจหรือเอกสารการมอบหมายหรือไม่
ในกรณีที่พนักงานเป็นผู้ดำเนินการสมัครสมาชิกแทนบริษัท จำเป็นต้องมีเอกสารการมอบหมายหรือไม่
ในขั้นตอนการสมัครสมาชิก ระบบมีการให้ระบุวัน เดือน ปีเกิด หากมีเพียงปี พ.ศ. เกิด แต่ไม่ทราบวันและเดือน จะสามารถสมัครสมาชิกได้หรือไม่
สามารถสมัครสมาชิกได้ โดยในกรณีที่ไม่ทราบวันและเดือนเกิด ให้เลือกตัวเลือก "ไม่มี" สำหรับวันและเดือน ส่วนปี พ.ศ. เกิด จำเป็นต้องระบุ
บุคคลที่มีชื่อกลางสามารถสมัครสมาชิกได้หรือไม่ เนื่องจากระบบให้กรอกเพียงชื่อและนามสกุล
สามารถสมัครสมาชิกได้ โดยระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลโดยไม่ต้องกรอกชื่อกลาง
กรอกข้อมูลสมัครสมาชิกครบถ้วนแล้ว แต่ไม่สามารถสมัครสำเร็จ สาเหตุเกิดจากอะไร
ระบบจะตรวจสอบข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล และวันเดือนปีเกิดกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง หากข้อมูลใดไม่ตรงกับบัตรประชาชนฉบับปัจจุบัน จะไม่สามารถสมัครสมาชิกได้ ในกรณีที่ระบบแจ้งว่าไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับทะเบียนราษฎร์ อาจเกิดจากการใช้งานพร้อมกันจำนวนมากหรือปัญหาการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
กรอกหมายเลขบัตรประชาชน ระบบแจ้งว่าหมายเลขนี้ได้ลงทะเบียนแล้ว
กรุณาใช้เมนู “ลืมรหัสผ่าน” หรือเข้าสู่ระบบผ่านแอปพลิเคชันไทยดี (ThaID)
ระบบเปิดให้สมัครสมาชิกเวลาใดบ้าง
หลังสมัครสมาชิกสำเร็จ จะได้รับแจ้งผลการสมัครและรหัสผ่านทางอีเมลหรือโทรศัพท์หรือไม่
หลังสมัครสำเร็จจะไม่มีการแจ้งผลการสมัครหรือรหัสผ่านทางอีเมลหรือโทรศัพท์
เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลสามารถใช้ซ้ำกันได้หรือไม่
เบอร์โทรศัพท์และอีเมลต้องไม่ซ้ำกับสมาชิกท่านอื่น
กรณีลาออกจากกิจการ ต้องดำเนินการอย่างไรกับบัญชีผู้ใช้งาน
สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เก็บบัญชีผู้ใช้งานไว้
- ให้ลบกิจการออกจากโปรไฟล์เดิม
- เมื่อเข้าทำงานกับกิจการใหม่ สามารถใช้บัญชีเดิมเพิ่มกิจการใหม่เข้าในโปรไฟล์ได้ทันที โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่
2. ยกเลิกบัญชีผู้ใช้งาน ให้ส่งคำขอยกเลิกไปที่อีเมล service_ids@industry.go.th พร้อมข้อมูล ดังนี้
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อ–นามสกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และระบุข้อความ “สำหรับใช้ในการยกเลิกบัญชีผู้ใช้งานในระบบ i-Industry อย่างถาวร”
ข้อควรทราบ:
บัญชีผู้ใช้งานถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ควรให้บุคคลอื่นใช้งาน และไม่ถือเป็นทรัพย์สินของกิจการ เมื่อมีการลบกิจการออกจากโปรไฟล์แล้ว บัญชีผู้ใช้งานจะไม่มีความเชื่อมโยงกับกิจการหรือโรงงานอีกต่อไป
1. เก็บบัญชีผู้ใช้งานไว้
- ให้ลบกิจการออกจากโปรไฟล์เดิม
- เมื่อเข้าทำงานกับกิจการใหม่ สามารถใช้บัญชีเดิมเพิ่มกิจการใหม่เข้าในโปรไฟล์ได้ทันที โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่
2. ยกเลิกบัญชีผู้ใช้งาน ให้ส่งคำขอยกเลิกไปที่อีเมล service_ids@industry.go.th พร้อมข้อมูล ดังนี้
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อ–นามสกุล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง และระบุข้อความ “สำหรับใช้ในการยกเลิกบัญชีผู้ใช้งานในระบบ i-Industry อย่างถาวร”
ข้อควรทราบ:
บัญชีผู้ใช้งานถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ควรให้บุคคลอื่นใช้งาน และไม่ถือเป็นทรัพย์สินของกิจการ เมื่อมีการลบกิจการออกจากโปรไฟล์แล้ว บัญชีผู้ใช้งานจะไม่มีความเชื่อมโยงกับกิจการหรือโรงงานอีกต่อไป
หน้าจอแจ้งว่า Username ได้แจ้งปิดบัญชีการใช้งานแล้ว
กรณีดังกล่าวเกิดจากผู้ใช้งานมีการแจ้งปิดบัญชีการใช้งาน ระบบจะไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนใหม่หรือใช้งานได้ ผู้ใช้งานต้องดำเนินการแจ้งความประสงค์ขอเปิดการใช้งาน
1. แจ้งข้อมูล ดังนี้
1.1 หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
1.2 ชื่อ - นามสกุล
1.3 แนบใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ/สกุล สำหรับผู้ใช้งานที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างตอนสมัครใช้งานครั้งแรกถึงปัจจุบันเท่านั้น (ถ้ามี)
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ใช้งาน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และข้อความกำกับในเอกสาร “ใช้สำหรับแจ้งความประสงค์เปิดบัญชีในระบบ i-industry” (แนบไฟล์ในอีเมลเท่านั้น ห้ามส่งลิ้งก์จากผู้บริการฝากไฟล์หรือ Cloud)
3. แจ้งข้อมูลและเอกสารตามข้อ 1 - 2 ไปที่อีเมล service_ids@industry.go.th
4. รออีเมลแจ้งกลับเมื่อมีการดำเนินการเปิดบัญชีการใช้งานเรียบร้อบแล้ว
5. เมื่อได้รับอีเมลตามข้อ 4 แล้ว ให้เข้าใช้งานด้วยรหัสผ่านเดิม หรือ Reset รหัสผ่านที่เมนูลืมรหัสผ่าน หรือเข้าสู่ระบบด้วย ThaID
ข้อควรทราบ: บัญชีผู้ใช้งาน (Username) เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ที่แจ้งข้อมูลตามที่ระบุข้างต้นระบบถือว่าเป็นการแจ้งโดยเจ้าของข้อมูลโดยสมบูรณ์
1. แจ้งข้อมูล ดังนี้
1.1 หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
1.2 ชื่อ - นามสกุล
1.3 แนบใบสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ/สกุล สำหรับผู้ใช้งานที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างตอนสมัครใช้งานครั้งแรกถึงปัจจุบันเท่านั้น (ถ้ามี)
2. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ใช้งาน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และข้อความกำกับในเอกสาร “ใช้สำหรับแจ้งความประสงค์เปิดบัญชีในระบบ i-industry” (แนบไฟล์ในอีเมลเท่านั้น ห้ามส่งลิ้งก์จากผู้บริการฝากไฟล์หรือ Cloud)
3. แจ้งข้อมูลและเอกสารตามข้อ 1 - 2 ไปที่อีเมล service_ids@industry.go.th
4. รออีเมลแจ้งกลับเมื่อมีการดำเนินการเปิดบัญชีการใช้งานเรียบร้อบแล้ว
5. เมื่อได้รับอีเมลตามข้อ 4 แล้ว ให้เข้าใช้งานด้วยรหัสผ่านเดิม หรือ Reset รหัสผ่านที่เมนูลืมรหัสผ่าน หรือเข้าสู่ระบบด้วย ThaID
ข้อควรทราบ: บัญชีผู้ใช้งาน (Username) เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ที่แจ้งข้อมูลตามที่ระบุข้างต้นระบบถือว่าเป็นการแจ้งโดยเจ้าของข้อมูลโดยสมบูรณ์
เปลี่ยนชื่อผู้ใช้งานบัญชีได้หรือไม่
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลเป็นบุคคลอื่นได้ทุกกรณี ผู้ที่มารับผิดชอบงานต่อต้องสมัครสมาชิกใหม่เท่านั้น และผู้ที่ไม่ได้รับผิดชอบแล้วควรจัดการกับบัญชีผู้ใช้งานของตนเองให้เรียบร้อย
มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ - นามสกุล ต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ - นามสกุล สามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงได้ที่อีเมล service_ids@industry.go.th โดยแจ้งข้อมูล ดังนี้
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อ - นามสกุล (ใหม่)
- เอกสาร หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุข้อความ "ใช้สำหรับแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบ i-Industry เท่านั้น"
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ชื่อ - นามสกุล (ใหม่)
- เอกสาร หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุข้อความ "ใช้สำหรับแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบ i-Industry เท่านั้น"
บุคคลธรรมดา
กดตรวจสอบข้อมูลแล้วไม่สามารถทำรายการได้
ระบบเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์แบบออนไลน์ อาจเกิดจากช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก หรือปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูล กรุณารอ 1–2 นาที แล้วลองตรวจสอบใหม่อีกครั้ง หากปัญหายังคงมี ผู้ดูแลระบบจะแจ้งข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ต่อไป
เมื่อลงทะเบียนเพิ่มกิจการของบุคคลอื่นเรียบร้อยแล้ว บุคคลนั้นจำเป็นต้องสมัครสมาชิกระบบด้วยหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิก
การเพิ่มกิจการของบุคคลอื่น ต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง
ต้องกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน และเลขหลังบัตร (Laser Code) ซึ่งต้องเป็นบัตรที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน ไม่มีสถานะสิ้นสภาพหรือสูญหาย
เลขหลังบัตรประชาชน (Laser Code) คืออะไร
Laser Code คือ รหัสกำกับบัตร เป็นเลขที่กรมการปกครองใช้ในการควบคุมการจ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรณีบริษัทมีกรรมการหลายคน ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการคนใดในการยืนยันข้อมูล
ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัท
กรณีมีกรรมการลงชื่อหลายคน ต้องยืนยันข้อมูลอย่างไร
ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัท ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการที่ลงชื่อผูกพัน
กรณีกรรมการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล แต่ยังไม่ได้แจ้งแก้ไขข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หากมีกรรมการหลายคน ให้เลือกยืนยันข้อมูลด้วยกรรมการคนอื่นที่มีข้อมูลถูกต้อง กรณีมีกรรมการเพียงคนเดียว ต้องดำเนินการแก้ไขข้อมูลกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ก่อน
กรณีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ ต้องยืนยันข้อมูลอย่างไร
ยืนยันข้อมูลกิจการด้วยการอัพโหลดไฟล์หนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ที่ไม่หมดอายุ และขนาดไฟล์ไม่เกิน 15MB
กรณีเพิ่มกิจการแล้วสถานะเป็น Not Verified
กิจการที่ยืนยันข้อมูลด้วยการอัปโหลดเอกสารจะต้องรอการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ หากข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง สถานะจะเปลี่ยนเป็น Verified สามารถดูคำแนะนำเพิ่มเติมได้ในขั้นตอนการอัปโหลดเอกสาร
ข้อมูลประกอบการในแท็บเมนูกิจการไม่ถูกต้อง
ข้อมูลประกอบการที่แสดงเป็นวัตถุประสงค์ของบริษัทในขณะจดทะเบียนครั้งแรก ไม่ใช่ข้อมูลจากงบการเงินปีล่าสุด
ชื่อบริษัทไม่ถูกต้อง แก้ไขได้อย่างไร
หากมีการเปลี่ยนชื่อบริษัทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ให้ลบกิจการเดิมและเพิ่มข้อมูลใหม่ ระบบจะอัปเดตชื่อใหม่ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เนื่องจากระบบไม่สามารถแก้ไขชื่อได้โดยตรง
นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ต้องระบุข้อมูลและอัปโหลดเอกสารอะไรบ้างในการเพิ่มกิจการ
ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ที่ขึ้นต้นด้วย 0994 และอัปโหลดเอกสารที่ออกโดยกรมสรรพากร เช่น ภ.พ.20 หรือบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ซึ่งแสดงหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของหน่วยงาน
กรณีเพิ่มกิจการแล้วสถานะเป็น Not Verified
กิจการที่ยืนยันข้อมูลด้วยการอัปโหลดเอกสารจะต้องรอการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ หากข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง สถานะจะเปลี่ยนเป็น Verified สามารถดูคำแนะนำเพิ่มเติมได้ในขั้นตอนการอัปโหลดเอกสาร
ข้อมูลโรงงาน
กดตรวจสอบแล้วไม่พบโรงงาน
กรุณาตรวจสอบว่าโรงงานมีสถานะการดำเนินการปกติ (เช่น แจ้งประกอบกิจการหรือหยุดชั่วคราว) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือการใช้งาน หน้า 45 หรือแจ้งหน่วยงานตามที่ตั้งโรงงานในพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูล หรือแจ้งผู้ดูแลระบบ
กิจการมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหลายใบ แต่จำนวนโรงงานที่ตรวจสอบไม่ครบถ้วน
กรุณาแจ้งหน่วยงานตามที่ตั้งโรงงานในพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูล หรือแจ้งผู้ดูแลระบบ
จำเป็นต้องเพิ่มโรงงานทั้งหมดหรือไม่
ไม่จำเป็น สมาชิกสามารถเลือกเพิ่มเฉพาะโรงงานที่รับผิดชอบได้
เพิ่มโรงงานเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถดูรายละเอียดได้ (แสดงเครื่องหมาย -)
โปรดคลิกที่ชื่อโรงงานเพื่อดูรายละเอียดของโรงงานนั้น
โรงงานสถานะใดบ้างที่สามารถเพิ่มโรงงานเข้าไปในโปรไฟล์ของสมาชิกได้
ต้องเป็นโรงงานที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และมีสถานะ "แจ้งประกอบกิจการ" หรือ "หยุดชั่วคราว" เท่านั้น
ค่าธรรมเนียมโรงงาน
ใบแจ้งการชำระเงินค่าธรรมเนียม ที่ปรากฎในหน้าจอสมาชิกคือค่าธรรมเนียมอะไร
ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมโรงงานตามที่ระบุในกฎกระทรวง ส่วนใหญ่เป็นค่าธรรมเนียมรายปีของโรงงาน ทั้งนี้ การสมัครสมาชิกและการใช้บริการในระบบไม่มีค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ
ชำระค่าธรรมเนียมรายปีแล้ว ใบอนุญาต ร.ง. 4 ลำดับที่ 9 ต้องนำไปลงบันทึกหรือไม่
กรณีเป็นใบอนุญาต ร.ง.4 ที่ออกจากระบบ e-License ผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่ต้องนำไปลงบันทึก โดยระบบจะมีการบันทึกลงในใบอนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ กรณีที่เป็นใบอนุญาตแบบเดิมสามารถนำใบอนุญาตไปลงบันทึกได้ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ตั้งโรงงานในวันและเวลาที่สะดวก
หากไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามวันที่ระบุในใบแจ้ง ต้องดำเนินการอย่างไร
ติดต่อสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพื่อออกใบแจ้งฉบับใหม่พร้อมเงินเพิ่ม จากนั้นให้ทำการตรวจสอบใบแจ้งผ่านระบบ i-Industry ตามคู่มือหน้า 49 ใบแจ้งที่เกินกำหนดชำระเงินและออกใบแจ้งใหม่แล้ว ผู้ประกอบการต้องชำระเงินภายในวัน (ก่อนเวลา 23.00 น.)
อัตราค่าธรรมเนียมรายปีโรงงาน
คิดตามกำลังเครื่องจักรที่ระบุในใบอนุญาต เริ่มตั้งแต่ไม่ใช้เครื่องจักร ปีละ 300 บาท และตั้งแต่ 40,000 แรงม้าขึ้นไป ปีละ 43,500 บาท สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://payment.industry.go.th/factoryfee
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
เป็นค่าธรรมเนียมชำระครั้งเดียวเมื่อได้รับใบอนุญาต คิดตามกำลังเครื่องจักรที่ใช้ตอนยื่นขออนุญาต เริ่มตั้งแต่ไม่ใช้เครื่องจักร (1,000 บาท) ถึง 40,000 แรงม้าขึ้นไป (145,000 บาท) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://payment.industry.go.th/factorylicense
ผลกระทบหากไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี
ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 43 ผู้ที่ไม่ชำระค่าธรรมเนียมต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 5 ต่อเดือน หากยังไม่ชำระโดยไม่มีเหตุอันสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้หยุดประกอบกิจการจนกว่าจะชำระครบ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 39, 40 และ 41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กรณีไม่ได้รับใบแจ้งค่าธรรมเนียมรายปี
การชำระค่าธรรมเนียมรายปีเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน โดยต้องทราบกำหนดการชำระตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต (ร.ง.4 ลำดับที่ 3 ข้อ 2) หากใกล้ครบกำหนดชำระแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบแจ้ง ไม่ว่าจะทางระบบหรือทางไปรษณีย์ ให้รีบติดต่อสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ตั้งของโรงงานเพื่อดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนด
ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ต้องชำระค่าธรรมเนียมใดบ้าง
ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ถือใบอนุญาต ร.ง.4 ต้องชำระค่าธรรมเนียมหลัก 2 ประเภท ได้แก่
1. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต – ชำระครั้งเดียวเมื่อได้รับใบอนุญาต
2. ค่าธรรมเนียมรายปี – ชำระทุกปีตามอัตรากำลังเครื่องจักร
นอกจากนี้อาจมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามกรณี เช่น ค่าธรรมเนียมการขยายโรงงาน การโอนใบอนุญาต หรือขอใบแทน เป็นต้น
หมายเหตุ: ผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปี เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมกิจการให้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าว
1. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต – ชำระครั้งเดียวเมื่อได้รับใบอนุญาต
2. ค่าธรรมเนียมรายปี – ชำระทุกปีตามอัตรากำลังเครื่องจักร
นอกจากนี้อาจมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามกรณี เช่น ค่าธรรมเนียมการขยายโรงงาน การโอนใบอนุญาต หรือขอใบแทน เป็นต้น
หมายเหตุ: ผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปี เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมกิจการให้เกิดขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าว
โรงงานตั้งอยู่ในเขตการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีหรือไม่
กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และโรงงานจำพวกที่ 3 พ.ศ. 2563 กำหนดให้โรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี
ใบอนุญาตโรงงาน
สามารถขอใบอนุญาตโรงงานได้อย่างไร
บริการภายใต้ระบบ i-Industry หมวดหมู่ Digital License "ระบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน" ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3 หรือ แจ้งประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 (ร.ง. 2) โดยเป็นการดำเนินการขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 100% สามารถติดตามสถานะการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผ่านระบบโดยตรง
โรงงานประเภทใดบ้างที่สามารถขอใบอนุญาตผ่านระบบ e-License
- ต้องเป็นโรงงานที่มีอัตรากำลังเครื่องจักรไม่เกิน 500 แรงม้า และกรณีขยายโรงงานต้องไม่เกิน 600 แรงม้า
- ไม่อยู่ในประเภท 101, 105 และ 106
- รองรับทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
หมายเหตุ: สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำลังดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ระบบ e-License สามารถรองรับการดำเนินงานที่เป็นข้อยกเว้นข้างต้น
- ไม่อยู่ในประเภท 101, 105 และ 106
- รองรับทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
หมายเหตุ: สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำลังดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ระบบ e-License สามารถรองรับการดำเนินงานที่เป็นข้อยกเว้นข้างต้น
การเข้าใช้งานเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทำอย่างไร
ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. สมัครสมาชิกระบบ i-Industry
2. เพิ่มกิจการตามประเภทของกิจการให้เรียบร้อย
3. เข้าใช้งานที่เมนูบริการ >> Digital License >> ระบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
4. กรอกข้อมูลเบื้องต้นเพียงไม่กี่ข้อ เพื่อให้ระบบช่วยประเมินว่าเข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือไม่
5. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือการใช้งาน https://e-license.industry.go.th/files/aSqxdio9q8op/customer.pdf
1. สมัครสมาชิกระบบ i-Industry
2. เพิ่มกิจการตามประเภทของกิจการให้เรียบร้อย
3. เข้าใช้งานที่เมนูบริการ >> Digital License >> ระบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
4. กรอกข้อมูลเบื้องต้นเพียงไม่กี่ข้อ เพื่อให้ระบบช่วยประเมินว่าเข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือไม่
5. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือการใช้งาน https://e-license.industry.go.th/files/aSqxdio9q8op/customer.pdf
การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) มีค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการหรือไม่
การขอใบอนุญาต ร.ง.4 ไม่มีค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ประกอบการจะชำระเฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ หลังได้รับอนุญาตแล้ว โดยคิดตามอัตรากำลังเครื่องจักรที่ขออนุญาต เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต (ลำดับที่ 1) จะต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับการแจ้งประกอบกิจการ ตามอัตรากำลังเครื่องจักรเช่นกัน
รายงานข้อมูล
การรายงานข้อมูลตามกฎหมายต่อกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องรายงานที่ใด
ต้องรายงานผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางกระทรวงอุตสาหกรรม (iSingleForm) โดยสามารถเข้าสู่ระบบผ่านเว็บไซต์ i.industry.go.th
iSingleForm คืออะไร
iSingleForm คือระบบรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรมในรูปแบบออนไลน์ ออกแบบ พัฒนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการรายงานข้อมูลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมข้อมูลหลัก 5 ด้าน ได้แก่:
1. ข้อมูลด้านการผลิต
2. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
3. ข้อมูลด้านความปลอดภัย
4. ข้อมูลผลประกอบการ
5. ข้อมูลความคิดเห็นต่อภาวะธุรกิจ
ระบบนี้ช่วยให้การรายงานข้อมูลของผู้ประกอบการมีความสะดวก โปร่งใส และปลอดภัย ผ่านช่องทางดิจิทัลแบบครบวงจร
1. ข้อมูลด้านการผลิต
2. ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
3. ข้อมูลด้านความปลอดภัย
4. ข้อมูลผลประกอบการ
5. ข้อมูลความคิดเห็นต่อภาวะธุรกิจ
ระบบนี้ช่วยให้การรายงานข้อมูลของผู้ประกอบการมีความสะดวก โปร่งใส และปลอดภัย ผ่านช่องทางดิจิทัลแบบครบวงจร
ใครเป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลในระบบ iSingleForm
ปัจจุบันผู้ที่มีหน้าที่รายงานข้อมูลในระบบ iSingleForm คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานภายใต้พระราชบัญญัติโรงงาน ซึ่งมีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการตามที่กฎหมายกำหนด โดยระบบ iSingleForm จะจัดเตรียมแบบรายงานที่เกี่ยวข้องสำหรับแต่ละโรงงานหรือกิจการโดยอัตโนมัติ (Personalized) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถรายงานข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามกฎหมาย
สามารถรายงานข้อมูลในระบบ iSingleForm ได้อย่างไร
ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ iSingleForm มีดังนี้
1. ลงทะเบียนระบบ i-Industry: สมัครสมาชิกและเพิ่มข้อมูลกิจการ/โรงงาน ให้ครบถ้วน
2. เข้าสู่เมนูการรายงานข้อมูล: ไปที่เมนู “บริการ” → “Digital-Survey (แบบฟอร์มสำรวจข้อมูลดิจิทัล)” → “การรายงานข้อมูลกลางของ อก. (iSingleForm)”
3. เข้าสู่ระบบ iSingleForm: ระบบจะนำไปยังเว็บไซต์ iSingleForm โดยอัตโนมัติ จากนั้นเลือกเมนู “รายงานข้อมูล” รายชื่อกิจการและโรงงานที่ผูกไว้ในระบบ i-Industry จะปรากฏโดยอัตโนมัติ
1. ลงทะเบียนระบบ i-Industry: สมัครสมาชิกและเพิ่มข้อมูลกิจการ/โรงงาน ให้ครบถ้วน
2. เข้าสู่เมนูการรายงานข้อมูล: ไปที่เมนู “บริการ” → “Digital-Survey (แบบฟอร์มสำรวจข้อมูลดิจิทัล)” → “การรายงานข้อมูลกลางของ อก. (iSingleForm)”
3. เข้าสู่ระบบ iSingleForm: ระบบจะนำไปยังเว็บไซต์ iSingleForm โดยอัตโนมัติ จากนั้นเลือกเมนู “รายงานข้อมูล” รายชื่อกิจการและโรงงานที่ผูกไว้ในระบบ i-Industry จะปรากฏโดยอัตโนมัติ
ต้องรายงานข้อมูลอะไรบ้างในระบบ iSingleForm
ปัจจุบัน ระบบ iSingleForm ครอบคลุมการรายงานข้อมูลหลักทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลด้านการผลิต ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านความปลอดภัย ข้อมูลผลประกอบการ และข้อมูลความคิดเห็นต่อภาวะธุรกิจ ทั้งนี้ ระบบจะจัดเตรียมแบบรายงานที่เกี่ยวข้องสำหรับแต่ละโรงงานหรือกิจการโดยอัตโนมัติ
การรายงานข้อมูลสามารถส่งเฉพาะบางส่วนได้หรือไม่
ไม่สามารถส่งรายงานแบบแยกส่วนได้ ผู้ประกอบการต้องรายงานข้อมูลทุกแท็บที่เป็นช่องบังคับ (เครื่องหมาย * สีแดง) ให้ครบถ้วนก่อนจึงจะสามารถส่งรายงานได้
ข้อมูลที่ใช้รายรายงานคือข้อมูลในช่วงเวลาใด
แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. กรณีรายงานรายเดือน ใช้ข้อมูลของเดือนก่อนหน้า
2. กรณีรายงานประจำปี ใช้ข้อมูลของปีก่อนหน้า
1. กรณีรายงานรายเดือน ใช้ข้อมูลของเดือนก่อนหน้า
2. กรณีรายงานประจำปี ใช้ข้อมูลของปีก่อนหน้า
กรณีที่ส่งรายงานไปแล้วสามารถขอแก้ไขรายงานได้หรือไม่
ผู้ประกอบการสามารถขอแก้ไขรายงาน โดยเลือกเดือนและข้อมูลที่ต้องการแก้ไขได้ ทั้งนี้ ข้อมูลบางด้านต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะสามารถแก้ไขได้
อื่น ๆ
กรณีพบรายชื่อบุคคลอื่นหรือพนักงานที่ไม่ได้รับผิดชอบหรือได้ลาออก ปรากฏในรายชื่อสมาชิกที่ลงทะเบียนกิจการ
หากกิจการมีหลายสาขา โปรดตรวจสอบข้อมูลรายชื่อบุคคลดังกล่าวกับสาขาที่เกี่ยวข้อง หากยืนยันว่าไม่ใช่พนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวจสอบรายชื่อบุคคลในกิจการ
• เข้าสู่ระบบ i-Industry
• ไปที่เมนู “ข้อมูลกิจการ” และเลือกหมายเลขทะเบียนของกิจการ
• เลื่อนลงมาที่ส่วนรายชื่อสมาชิกทั้งหมด เพื่อดูว่ามีชื่อของพนักงานที่ลาออกอยู่หรือไม่ ตามคู่มือการใช้งานหน้า 40
2. จัดทำหนังสือแจ้งยกเลิก
• เรียน: ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
• ลงนามโดย: กรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท
• เนื้อหา: ระบุชื่อ–นามสกุลของพนักงานที่ต้องการให้ยกเลิก (ให้ตรงกับรายชื่อในระบบ) พร้อมเหตุผล เช่น “พ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน”
• ภาพประกอบจากหน้าจอของระบบตามข้อ 1
3. ส่งหนังสือ
• ส่งไฟล์หนังสือที่ลงนามแล้ว ไปที่อีเมล: service_ids@industry.go.th
• ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับทางไปรษณีย์
1. ตรวจสอบรายชื่อบุคคลในกิจการ
• เข้าสู่ระบบ i-Industry
• ไปที่เมนู “ข้อมูลกิจการ” และเลือกหมายเลขทะเบียนของกิจการ
• เลื่อนลงมาที่ส่วนรายชื่อสมาชิกทั้งหมด เพื่อดูว่ามีชื่อของพนักงานที่ลาออกอยู่หรือไม่ ตามคู่มือการใช้งานหน้า 40
2. จัดทำหนังสือแจ้งยกเลิก
• เรียน: ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
• ลงนามโดย: กรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท
• เนื้อหา: ระบุชื่อ–นามสกุลของพนักงานที่ต้องการให้ยกเลิก (ให้ตรงกับรายชื่อในระบบ) พร้อมเหตุผล เช่น “พ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน”
• ภาพประกอบจากหน้าจอของระบบตามข้อ 1
3. ส่งหนังสือ
• ส่งไฟล์หนังสือที่ลงนามแล้ว ไปที่อีเมล: service_ids@industry.go.th
• ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับทางไปรษณีย์
เมื่อทำการลบโรงงาน ลบกิจการออกจากโปรไฟล์ หรือปิดการใช้งานบัญชี ข้อมูลต่าง ๆ เช่น การรายงาน หรือการขออนุญาตในระบบอื่นที่ใช้ข้อมูลผู้ใช้งานของ i-Industry จะถูกลบหรือไม่
ข้อมูลที่ดำเนินการในนามของโรงงานหรือกิจการในระบบต่าง ๆ จะยังคงอยู่ในระบบและจะไม่ถูกลบหรือสูญหายแต่อย่างใด
เลขทะเบียนโรงงานแบบใหม่ 14 หลัก คืออะไร
กระทรวงอุตสาหกรรม มีการใช้เลขทะเบียนโรงงานแบบใหม่ จำนวน 14 หลัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา เพื่อให้มีมาตรฐานความเป็นสากล เข้าใจง่าย และลดความซับซ้อน โดยจะประกอบไปด้วย 6 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่ม A (1 หลัก)
2. กลุ่ม B (1 หลัก)
3. กลุ่ม C (2 หลัก)
4. กลุ่ม D (5 หลัก)
5. กลุ่ม E (4 หลัก)
6. กลุ่ม F (1 หลัก)
ความหมายของแต่ละกลุ่ม
กลุ่ม A หมายถึง หน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต ประกอบด้วย
1 = กรมโรงงานอุตสาหกรรม
2 = สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
3 = กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
4 = สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
5 = กรุงเทพมหานคร
6 = องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล)
7 = การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)
8 = การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม)
9 = เขตประกอบการอุตสาหกรรม ตามมาตรา 30
0 = อื่น ๆ เช่น BOI หรือ EEC
กลุ่ม B หมายถึง พื้นที่ตั้งของโรงงาน
0 = โรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรม/นอกเขตประกอบการ
1 = โรงงานในเขตประกอบการ
2-3 = โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
4 = โรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
กลุ่ม C หมายถึง รหัสพื้นที่ โดยจะต่อเนื่องกับกลุ่ม B เช่น
010 = กรุงเทพมหานคร
074 = สมุทรสาคร
206 = นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
กลุ่ม D หมายถึง ลำดับของโรงงานในปี พ.ศ. ที่ออกเลขทะเบียนโรงงาน เช่น 00001
กลุ่ม E หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ออกเลขทะเบียนโรงงาน เช่น 2568
กลุ่ม F หมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของ 13 หลักแรก
1. กลุ่ม A (1 หลัก)
2. กลุ่ม B (1 หลัก)
3. กลุ่ม C (2 หลัก)
4. กลุ่ม D (5 หลัก)
5. กลุ่ม E (4 หลัก)
6. กลุ่ม F (1 หลัก)
ความหมายของแต่ละกลุ่ม
กลุ่ม A หมายถึง หน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต ประกอบด้วย
1 = กรมโรงงานอุตสาหกรรม
2 = สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
3 = กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
4 = สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
5 = กรุงเทพมหานคร
6 = องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล)
7 = การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)
8 = การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สำนักงานนิคมอุตสาหกรรม)
9 = เขตประกอบการอุตสาหกรรม ตามมาตรา 30
0 = อื่น ๆ เช่น BOI หรือ EEC
กลุ่ม B หมายถึง พื้นที่ตั้งของโรงงาน
0 = โรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรม/นอกเขตประกอบการ
1 = โรงงานในเขตประกอบการ
2-3 = โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
4 = โรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
กลุ่ม C หมายถึง รหัสพื้นที่ โดยจะต่อเนื่องกับกลุ่ม B เช่น
010 = กรุงเทพมหานคร
074 = สมุทรสาคร
206 = นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
กลุ่ม D หมายถึง ลำดับของโรงงานในปี พ.ศ. ที่ออกเลขทะเบียนโรงงาน เช่น 00001
กลุ่ม E หมายถึง ปี พ.ศ. ที่ออกเลขทะเบียนโรงงาน เช่น 2568
กลุ่ม F หมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของ 13 หลักแรก
ตรวจสอบเลขทะเบียนโรงงานแบบใหม่ 14 หลัก ได้อย่างไร
สามารถตรวจสอบได้ 2 วิธี ดังนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หน้าแรก (ลำดับที่ 1) หรือบันทึกการเปลี่ยนแปลงของพนักงานเจ้าหน้าที่ลำดับที่ 7
2. จากระบบค้นหาข้อมูลโรงงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม https://www.diw.go.th/webdiw/search-factory โดยสามารถค้นหาด้วยเลขทะเบียนแบบเก่า หรือชื่อโรงงาน, ชื่อผู้ประกอบกิจการ เพื่อตรวจสอบเลขทะเบียนโรงงานแบบใหม่ได้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หน้าแรก (ลำดับที่ 1) หรือบันทึกการเปลี่ยนแปลงของพนักงานเจ้าหน้าที่ลำดับที่ 7
2. จากระบบค้นหาข้อมูลโรงงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม https://www.diw.go.th/webdiw/search-factory โดยสามารถค้นหาด้วยเลขทะเบียนแบบเก่า หรือชื่อโรงงาน, ชื่อผู้ประกอบกิจการ เพื่อตรวจสอบเลขทะเบียนโรงงานแบบใหม่ได้
ระบบ i-Industry คืออะไร
ระบบ i-Industry หรือระบบทะเบียนลูกค้าอุตสาหกรรม คือระบบทะเบียนกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการให้บริการภาครัฐในด้านอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล โดยเชื่อมโยงชุดข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานภายนอก เช่น กรมการปกครอง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างโปรไฟล์ผู้ประกอบการ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบงานต่าง ๆ ภายในกระทรวง เช่น ระบบขออนุญาตต่าง ๆ รายงานข้อมูลกลาง การชำระค่าธรรมเนียม ด้านการบริการสำหรับผู้ประกอบการ SME และการติดตามกำกับดูแล นอกจากนี้ยังมีศูนย์บริการ API และฐานข้อมูลกลาง (Data Lake) เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้วยข้อมูล (Data-Driven Governance) สำหรับยกระดับการให้บริการของหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม
กดปุ่มดำเนินการของระบบงานแล้ว หน้าจอแจ้งว่าเบราวเซอร์ของคุณบล็อกป๊อปอัปอยู่
การแจ้งเตือนดังกล่าวเป็นการเคารพนโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยต้องทำการยกเลิกการบล็อกป๊อปอัพ ดังนี้
Microsoft Edge (Windows/macOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > คุกกี้และสิทธิ์ของไซต์
- เลือก ป๊อปอัปและการเปลี่ยนเส้นทาง
- ปิดการบล็อก หรือเพิ่มเว็บไซต์ที่ต้องการในรายการ "อนุญาต"
Google Chrome (Windows/macOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
- เลือก การตั้งค่าเว็บไซต์ > ป๊อปอัปและการเปลี่ยนเส้นทาง
- ปิดการบล็อก หรือเพิ่มเว็บไซต์ที่ต้องการในรายการอนุญาต
Firefox (Windows/macOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > เนื้อหา (Content)
- ยกเลิกการเลือก "บล็อกหน้าต่างป๊อปอัป" หรือเพิ่มเว็บไซต์ในรายการข้อยกเว้น
Safari (macOS)
- เปิด Safari แล้วไปที่ Safari > การตั้งค่า (Settings)
- ในแท็บ เว็บไซต์ (Websites) เลือก ป๊อปอัป
- ตั้งค่าให้ "อนุญาต" สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการ
Safari (iOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > Safari
- ปิดสวิตช์ ป้องกันป๊อปอัป (Block Pop-ups)
Microsoft Edge (Windows/macOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > คุกกี้และสิทธิ์ของไซต์
- เลือก ป๊อปอัปและการเปลี่ยนเส้นทาง
- ปิดการบล็อก หรือเพิ่มเว็บไซต์ที่ต้องการในรายการ "อนุญาต"
Google Chrome (Windows/macOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
- เลือก การตั้งค่าเว็บไซต์ > ป๊อปอัปและการเปลี่ยนเส้นทาง
- ปิดการบล็อก หรือเพิ่มเว็บไซต์ที่ต้องการในรายการอนุญาต
Firefox (Windows/macOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > เนื้อหา (Content)
- ยกเลิกการเลือก "บล็อกหน้าต่างป๊อปอัป" หรือเพิ่มเว็บไซต์ในรายการข้อยกเว้น
Safari (macOS)
- เปิด Safari แล้วไปที่ Safari > การตั้งค่า (Settings)
- ในแท็บ เว็บไซต์ (Websites) เลือก ป๊อปอัป
- ตั้งค่าให้ "อนุญาต" สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการ
Safari (iOS)
- ไปที่ การตั้งค่า (Settings) > Safari
- ปิดสวิตช์ ป้องกันป๊อปอัป (Block Pop-ups)